นักรณรงค์การลดอันตรายจากยาสูบ เรียกร้องกฎหมายควบคุมที่มีงานวิจัย

Tobacco harm reduction

นักรณรงค์การลดอันตรายจากยาสูบ ที่เข้าร่วมงาน 2020 Global Tobacco & Nicotine Forum (GTNF) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ ออกกฎหมายควบคุมยาสูบที่มีงานวิจัยและนวัตกรรมสนับสนุน เพื่อช่วยลดความเจ็บป่วยและการตายที่เกิดจากใช้ยาสูบ

นักรณรงค์การลดอันตรายจากยาสูบ

“กฎหมายควบคุมยาสูบนั้นควรมีพื้นฐานมาจากงานวิจัยที่มีความถูกต้อง และไม่ควรให้การเมืองมามีอิทธิพลต่อการออกกฎหมาย ซึ่งอาจจะไม่ใช่สิ่งทีทำได้ กฎหมายควบคุมต้องมีความก้าวหน้าทันสมัย และยอมรับให้เกิดนวัตกรรม เนื่องจากเราได้พบข้อเท็จจริงใหม่ๆอยู่ตลอด” คริส อัลเลน หัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์ของศูนย์ Broughton Nicotine Services กล่าว

“มีคนเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการใช้ยาสูบมากถึงเจ็ดล้านคนต่อปี ปัจจุบันมีคนใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบมาถึงมากถึง 1.3 พัน คน โดยผลิตภัณฑ์ยาสูบที่พวกเขาใช้นั้นส่วนใหญ่เป็นประเภทที่มีสารพิษและมีควันจากการเผาไหม้ ดังนั้นผู้ที่มีอำนาจออกกฎหมายควรพุ่งเป้าไปที่การลดอันตรายจากยาสูบให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” เดเรค ยาช ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อโลกปลอดควันบุหรี่ (The Foundation for a Smoke-Free Future) กล่าว

“ในสหรัฐอเมริกา มีการออกกฎหมายยาสูบทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับมลรัฐที่เกิดขึ้นจากการใช้อารมณ์มากกว่าที่จะใช้งานวิจัยวิทยาศาสตร์มาเป็นพื้นฐาน แทนที่จะออกกฎหมายโดยรวมโดยรัฐบาลกลาง กลับกลายเป็นว่ามีการแยกออกกฎหมายแตกต่างกันไปมากถึง 50 มลรัฐ” อีเลน ราวนด์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกิจการวิทยาศาสตร์และกฎหมายของ RAI Services กล่าว

เอบรี ดู เพลซซี ที่ปรึกษาทางกฎหมายการค้า ได้ให้ความเห็นว่า มาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของของสหภาพยุโรป (European Tobacco Products Directive: EUTPD) นับว่าเป็นมาตรการที่ “เปิดกว้าง” และ “ยึดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์” ซึงประเทศอื่น ๆ ควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการร่างฎหมาย

EUTPD เป็นมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบของของสหภาพยุโรปที่ควบคุมการขายยาสูบและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับยาสูบในสหภาพยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลไกตลาดของยาสูบและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในทวีป พร้อมกับป้องกันสุขภาพของชาวยุโรป

มาเรวา โกลฟเวอร์ ผู้อำนวยการ Centre of Research Excellence on Indigenous Sovereignty and Smoking ได้พูดถึงบทเรียนที่ได้รับจากการควบคุมยาสูบเพื่อฟื้นฟูสังคมหลังการล็อกดาวน์ช่วงโควิด โดยได้กล่าวว่า

“การวิพากษ์วิจารณ์วิธีการรับมือโควิด-19 ของรัฐบาลต่าง ๆนั้นนับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากจะทำให้เราสามารถเรียนรู้และเตรียมกลยุทธ์ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่ออผู้คนในสังคมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้”

2020 Global Tobacco & Nicotine Forum (GTNF)
นักรณรงค์การลดอันตรายจากยาสูบ

 

อนาคตกับการลดอันตรายจากยาสูบ

“การถกเถียงในประเด็นคุณค่าของการลดอันตรายจากยาสูบนั้นยังคงเป็นประเด็นที่มีการขัดแย้งกันอยู่ นอกจากนี้ การถกเถียงในประเด็นนี้ยังมีฝ่ายที่ใช้มโนคติและอารมณ์ในการถกเถียง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการสนทนา” ศาสตราจารย์ ทิกกี้ แพง จากวิทยาลัยการแพทย์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าว ศาสตราจารย์แพงเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการด้านนโยบายและความร่วมมือขององค์การอนามัยโลกนานถึง 13 ปี

ศาสตราจารย์แพงเผยว่าตนผิดหวังที่แต่ละประเทศมีนโยบายที่แตกต่างกัน

“ในขณะนี้ ประเทศต่าง ๆ ยังไม่มีมติเอกฉันท์ว่านโยบายใดเป็นนโยบายที่ดีที่สุด ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศที่ออกกฎหมายรองรับบุหรี่ไฟฟ้า บางประเทศกำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย บางประเทศยังอยู่ในระหว่างร่างกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า บางประเทศไม่มีกฎหมายจำเพาะเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และบางประเทศไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าเลย”

ศาสตราจารย์แพงเผยว่า นับว่ายังดีที่แนวโน้มการยอมรับผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือกนั้น “มีความคืบหน้าไปบ้าง” โดยอ้างอิงจากการประกาศเมื่อไม่นานมานี้ขององค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ

“เนื่องจากผมเคยทำงานให้องค์การอนามัยโลก ผมดีใจมากที่องค์การอนามัยโลกได้ออกรายงานเรื่องกลุ่มศึกษากฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ (‘WHO study group on tobacco product regulation’)” ศาสตราจารย์แพงได้อ้างอิงถึงความเห็นของไคล์ฟ เบทส์ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนนโยบายด้านการลดอันตรายจากยาสูบ โดยเขาได้เขียนในรายงานดังกล่าวว่า “แม้ว่าจะยังมีการถกเถียงประเด็นนี้ ทว่ายังมีฝ่ายที่พยายามเข้าใจความคิดเรื่องการควมคุมยาสูบโดยไม่คิดอคติว่าเป็นสิ่งหลอกลวง…”

ศาสตราจารย์แพงเผยว่า ได้มีการพูดคุยในประเด็นเรื่องผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือกที่งานประชุมกรอบอนุสัญญาขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบ” (WHO Framework Convention on Tobacco Control- FCTC) “ผมเห็นว่านี่เป็นเหมือนการแง้มประตู เพราะหลายๆประเทศที่กำลังพัฒนาจะมององค์การอนามัยโลกเป็นผู้ให้แนวทางเกี่ยวกับนโยบายต่าง ๆ แม้ว่าโดยรวมแล้ว มุมมองขององค์การอนามัยโลกที่มีต่อผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือกยังคงเป็นลบ และไม่ได้สนับสนุน แต่ผมก็ยังมีหวังอยู่ เหมือนกับว่าเราเริ่มที่จะมองเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์แล้ว”

ศาสตราจารย์แพงได้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของประกาศขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US FDA) ที่อนุญาตทำการตลาดผลิตภัณฑ์ IQOS ในฐานะผลิตภัณฑ์ยาสูบลดความเสี่ยง (Modified Risk Tobacco Products: MRTPs) ได้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2020 โดยองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่าการอนุญาตครั้งนี้ “เป็นสิ่งที่เหมาะสมแก่การส่งเสริมสาธารณสุข”

นี่นับเป็นครั้งแรกที่องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้อุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถทำตลาดในฐานะผลิตภัณฑ์ยาสูบลดความเสี่ยงได้ ศาสตราจารย์แพงเกสตูได้กล่าวว่า “นี่นับเป็นการเดินหน้าไปอีกก้าว หลายๆประเทศมององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาเป็นแบบอย่างในการวางแนวทางนโยบายในหลายๆเรื่อง ทั้งในเรื่องการแพทย์และวัคซีน ไม่ใช่แค่เรื่องผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือกเท่านั้น”

ผู้สูบบุหรี่หันมาใช้มากขึ้น

ดร. ฮิโรย่า คูมามารุ แพทย์ผ่าตัดหัวใจ และรองผู้อำนวยการโรงพยาบาล AOI International ในจังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่นได้ เผยว่า อัตราการสูบบุหรี่ในประเทศญี่ปุ่นได้ลดลง 30% ในช่วงระยะเวลาสามปีหลังจากที่ได้เริ่มวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน โดยปัจจุบัน อัตราการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนในคนที่สูบบุหรี่นั้นสูงถึง 25%

ดร. คูมามารุอธิบายว่า “โดยรวมแล้ว ปริมาณการขายยาสูบซึ่งรวมไปถึงบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนยังลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ปริมาณการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนนั้นได้เพิ่มขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนจากการสูบบุหรี่มาเป็นการใช้ ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนนั้นเกิดขึ้นเร็วมาก” ดร. คูมามารุยังได้กล่าวเสริมว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนไม่ได้นำพาให้ชาวญี่ปุ่นวัยหนุ่มสาวไปสู่การสูบบุหรี่แต่อย่างใด

ศาสตราจารย์แพงเกสตูเผยว่า นอกจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ในประเทศอื่น ๆอย่างสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเกาหลี ก็พบว่าปริมาณการขายบุหรี่ได้ลดลงเป็นประวัติการณ์ หลังจากที่ได้เริ่มมีการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือก

“มีหลักฐานเกี่ยวกับประโยชน์และคุณค่าของผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หลักฐานจากสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และยุโรปบ่งชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือกนั้นมีอัตราการนำไปสู่การสูบบุหรี่มวนน้อยมาก Public Health England ได้เปิดเผยว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสวนทางกับอัตราการสูบบุหรี่มวนที่ลดลงเรื่อย ๆ”

งานประชุม 2020 Global Tobacco & Nicotine Forum (GTNF) ได้จัดขึ้นครั้งแรกในเมืองริโอ เด จานิโรเมื่อปี 2008 และได้กลายมาเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางสาธารณสุข ตัวแทนจากรัฐ นักลงทุนและสมาชิกในวงการอุตสาหกรรมยาสูบ/นิโคติน

งานประชุม 2020 GTNF ได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21-24 กันยายน 2020 สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 งานประชุมในปีนี้จึงได้จัดออนไลน์เป็นครั้งแรก

ที่มา : http://metronewscentral.net/metro-business/tobacco-harm-reduction-advocates-call-for-science-based-regulations

Relx_Detail7

ซึ่งทาง RELX มีงานวิจัยและนวัตกรรมสนับสนุน รองรับจากประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ จึงมั่นใจได้ในความปลอดภัยในเทคโนโลยีตัวเครื่อง หรือแม้กระทั่งสารต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย
สั่งซื้อได้ที่ : https://letsrelx.net/product-category/staterkit/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น