จุฬาฯ วิจัยยารักษาไวรัส Covid-19 ด้วยนิโคติน !!

Nicotine covid19

จุฬาฯ วิจัยยารักษาไวรัสโควิด 19 ด้วยนิโคติน !!

Covid-19
นิโคติน เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นสารเคมีให้โทษชนิดหนึ่งที่พบในกลุ่มยาสูบ เช่น บุหรี่ ซิการ์ ไปป์ สารนิโคตินส่งผลต่อสมองและระบบประสาท มีฤทธิ์ในทางการเสพติด แต่ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์ไปเสียทีเดียว
ล่าสุดได้มีการทดลองพัฒนายาและวัคซีนสำหรับไวรัสโควิด-19 จากต้นยาสูบ โดยทีมวิจัยจาก คณะแพทยศาสตร์ และ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งหากกระบวนการทดสอบสำเร็จ จะสามารถส่งหน่วยงานต่างประเทศสกัดเป็นยารักษาโรคได้

แพทย์จุฬาฯ ประดิษฐ์"ตู้ความดันลบ"ปลอดภัย เวลาตรวจหาเชื้อโควิด

รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาตร์ จุฬาฯ “ปกติคนเราหากมีไวรัสเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน หรือ แอนติบอดี เพื่อยับยั้งการทำงานของไวรัส แต่กรณีของการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ร่างกายสร้างแอนติบอดีได้ไม่ทันเวลา”

“ทีมวิจัยจึงมีแนวคิดใช้ แอนติบอดีเข้าไปยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัส ทดแทน ส่วนที่เลือกใช้ต้นยาสูบเป็นแหล่งผลิตแอนติบอดี เนื่องจากมีการวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าต้นยาสูบเป็นแหล่งผลิตแอนติบอดีที่มีประสิทธิภาพ ใช้ระยะเวลาการผลิตสั้น เหมาะกับการใช้ในสถานการณ์การระบาดของโรคที่จำเป็นต้องพัฒนาวัคซีนและยารักษาอย่างรวดเร็ว”

อาการแบบไหนเรียกว่าเป็นผู้ป่วย Covid-19

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุอาการหลักที่สังเกตด้วยตนเองได้แบบง่ายๆ ดังนี้

  • มีไข้สูงกว่า 37.5 องศา
  • เจ็บคอ
  • ไอแห้ง
  • มีน้ำมูก
  • หายใจเหนื่อยหอบ

แม้ว่าการแสดงอาการโดยทั่วไปจะดูคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา แต่ความรุนแรงของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ยังไม่มียาปฏิชีวะหรือวัคซีนใดๆ รักษาหายได้โดยตรง เป็นเพียงการรักษาแบบประคับประคอง และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างปอดอักเสบเกิดขึ้น เพราะจะนำไปสู่ความเสี่ยงอันตรายถึงอวัยวะภายในต่างๆ ล้มเหลว ทำให้ระบบภูมิต้านทานโรคไม่แข็งแรง จนถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด

ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

ทุกคนไม่ว่าจะเพศหรือวัยไหน ล้วนมีโอกาสสัมผัสกับโรคได้ทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มคนดังต่อไปนี้

  1. ผู้ที่อาศัยในประเทศหรือเมืองที่มีการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง
  2. ผู้ที่เดินทางเข้าไปหรือออกจาก รวมถึงการแวะเปลี่ยนเครื่องบินในประเทศหรือเมืองที่มีการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง
  3. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
  4. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และมีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เป็นต้น

 

ถึงนิโคตินจะมีประโยชน์และโทษ แต่คงจะดีกว่าถ้าเราไม่ต้องรับโทษจากสารพิษชนิดอื่นๆ จากบุหรี่มวน ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยเลิกบุหรี่ทดแทน https://letsrelx.net/shop/

ที่มา : https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/119492?utm_source=line&utm_medium=linetoday_original&utm_campaign=news&fbclid=IwAR3Su2N5I2_leov47qHRGA2eesh4H96H10smi2PB9jTi0N5OJScmuGi0iA0

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น