เจาะลึกเกี่ยวกับ “บุหรี่ไฟฟ้า”

About E cig เจาะลึกเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่-ไฟฟ้า คืออะไร?

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับบุหรี่ธรรมดากันก่อนดีกว่า บุหรี่ ถือเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่พิษภัยของมันนั้นร้ายแรงเสียเหลือเกิน เนื่องจากภายในมวนบุหรี่นั้นประกอบไปด้วยสารนิโคติน มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ผู้สูบจะมีอาการหัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูง คาร์บอนมอนอกไซด์ ส่วนประกอบอันตรายที่ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง ไนโตรเจนไดออกไซด์ รวมไปถึงไฮโดรเจนไซยาไนด์ เหล่านี้ล้วนส่งผลให้เยื่อบุหลอดลมพังพินาศทั้งสิ้น แล้วแบบนี้เทคโนโลยีที่ช่วยเลิกบุหรี่ล่ะ…อันตรายแบบเดียวกันหรือเปล่า เรามา เจาะลึกเกี่ยวกับ “บุหรี่ไฟฟ้า” กันก่อนที่จะตัดสินใจใช้งาน

เจาะลึกเกี่ยวกับ และเนื่องจากไม่มีการเผาไหม้ใบยาสูบ จึงทำให้ความรุนแรงอยู่ระดับที่ต่ำกว่าและไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างมากนัก

สำหรับส่วนประกอบก็จะมีแบตเตอรี่ สารนิโคติน และสารอื่นๆ เช่น แอลกอฮอล์ โพพีลีนและสารให้กลิ่นรสชาติ เป็นต้น ซึ่งอยู่ในสัดส่วนที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพมากเหมือนบุหรี่ธรรมดานั่นเอง

แรงบันดาลใจ การคิดค้นบุหรี่ไฟฟ้า

หลายคนอาจเกิดความสงสัยว่าเทคโนโลยีนี้ เริ่มต้นคิดค้นมาได้อย่างไรและมีแรงจูงใจจากอะไร นั่นก็เพราะจากความตื่นตัวและความตระหนักถึงควันบุหรี่มือสองที่อาจเป็นอันตรายต่อคนรอบข้างได้ จึงทำให้เกิดการคิดค้นบุหรี่แบบใหม่ที่ก่อให้เกิดควันพิษน้อยที่สุด จึงเกิดเป็นเทคโนโลยีนี้ขึ้นมานั่นเอง โดยบุหรี่ประเภทนี้ ผู้สูบจะได้รับสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกายโดยตรง ซึ่งไม่ผ่านการเผาไหม้จึงทำให้เกิดอันตรายน้อยที่สุด และไม่เกิดควันพิษหรือมีกลิ่นเหม็นที่เป็นอันตรายต่อคนรอบข้างอีกด้วย หมดปัญหาเรื่องภัยร้ายจากควันบุหรี่มือสองไปได้เลย

เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วหลายคนยังตั้งข้อสงสัยอีกว่า เป็นไปได้ไหมหากจะกล่าวว่า มันมีความอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา? ปัจจุบันมีเพียงข้อสันนิษฐานกันไปต่าง ๆ นานา บางคนกล่าวว่าเพราะบุหรี่ไฟฟ้าปราศจากสารเคมีที่เกิดจากการเผาไหม้เข้าสู่ร่างกาย การใช้เทคโนโลยีช่วยเลิกบุหรี่จึงมีอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่ธรรมดา

แต่อย่างไรก็ไม่ได้หมายความว่าเทคโนโลยีนี้จะไม่เป็นอันตราย เพราะโดยปกตินิโคตินก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพอยู่แล้วแม้จะไม่มากนักก็ตาม นอกจากนี้หากอุปกรณ์ที่ใช้ในการสูบไม่ได้มาตรฐานหรือมีการผสมสารเสพติดอื่นๆ ลงไปในนิโคตินเหลวด้วย ก็จะทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน

ทั้งนี้ทั้งนั้น ประเด็นบุหรี่ไฟฟ้า vs. บุหรี่ธรรมดา ใครอันตรายกว่ากัน ยังถือเป็นข้อถกเถียงที่โต้แย้งกันไม่รู้จบ เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีนี้ยังไม่ถึง 10 ปี แพทย์จึงยังไม่สามารถวินิจฉัยอันตรายต่อร่างกายได้ในระยะยาวในปัจจุบัน เทคโนโลยีนี้กำลังได้รับความนิยมและแพร่หลายในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งมีรายงานว่าเทคโนโลยีนี้มีความปลอดภัยมากกว่าบุหรี่จริงที่สูบกันทั่วไป แม้ว่าจะไม่ 100% ก็ตาม และด้วยความที่เป็นของใหม่ จึงทำให้คนส่วนใหญ่อยากรู้อยากลองกันมากขึ้น

Electronic Cigarettes Dangerous ? บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายไหม

มีอันตรายหรือไม่?

แม้ว่าจะปลอดภัยจากควันที่เผาไหม้ของบุหรี่ปกติทั่วไปที่มีส่วนประกอบของน้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ  แต่สารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่พบในน้ำยาสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น

  • นิโคติน
    เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มความดันโลหิต เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ มะเร็งช่องปาก หลอดอาหาร และตับอ่อน นอกจากนี้นิโคตินยังกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ซึ่งสารนี้ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุของการเป็นโรคเบาหวาน  นิโคตินกระตุ้นให้จำนวนเซลล์ผนังหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้เส้นเลือดตีบ เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง สำหรับหญิงตั้งครรภ์นิโคตินส่งผลต่อการพัฒนาของสมองทารกในครรภ์ การได้รับสารนิโคตินในระดับที่สูง (60 mg. ในผู้ใหญ่ และ 6 mg ในเด็กเล็ก) เสี่ยงต่อการเสียชีวิต
  • โพรไพลีนไกลคอล และสาร Glycerol/Glycerin
    เมื่อสัมผัสหรือสูดดมเข้าไปในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ดวงตา และปอดได้ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง

ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี

1.ช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ได้ แม้อาจจะเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีช่วยเลิกบุหรี่แล้ว ความอันตรายน้อยกว่า และด้วยความที่เป็นการสูบควันเช่นเดียวกับบุหรี่ธรรมดา จึงไม่ทำให้รู้สึกเหมือนหักดิบจนเกินไป เหมาะกับผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ที่สุด

2.มีหลากหลายกลิ่นให้เลือก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลิ่นหอม เช่น กลิ่นช็อกโกแลต กลิ่นคาราเมลและกลิ่นผลไม้ เป็นต้น จึงไม่ทำให้รบกวนคนรอบข้างเหมือนการสูบบุหรี่ธรรมดา

3.มีสารพิษน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา และเนื่องจากไม่ผ่านการเผาไหม้ จึงทำให้ปลอดจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่เกิดปัญหาควันบุหรี่มือสองอีกด้วย

ข้อเสีย

1.ค่าใช้จ่ายเริ่มแรกสูงมาก โดยจะเป็นค่าอุปกรณ์ที่ใช้นั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่หลักพันนิดๆ จนถึงสามพัน ขึ้นอยู่กับการจัดชุดและคุณภาพของอุปกรณ์ด้วย แต่หากประเมินที่ความคุ้มค่าแล้ว ก็ต้องบอกเลยว่าคุ้มมาก เพราะซื้อเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นก็ซื้อแค่น้ำยาและหัวอะตอมเพียงไม่กี่บาท

2.เมื่อใช้งานแรกๆ อาจมีอาการแสบคอบ้าง แต่ไม่ต้องกังวล เมื่อใช้ไปได้ประมาณ 5 วัน – 2 อาทิตย์ก็จะเกิดความเคยชินและสามารถสูบได้ตามปกติโดยไม่มีอาการแสบคอ

3.ด้วยความเคยชินกับการสูบบุหรี่แบบเดิมๆ เมื่อเปลี่ยนอาจทำให้เกิดความรู้สึกแปลกๆ อยู่บ้าง ดังนั้นแรกๆ จึงอาจมีอาการอยากบุหรี่แบบเดิม ซึ่งต้องใช้ความอดทนพอสมควรจนกว่าจะเกิดความเคยชินกับการสูบบุหรี่แบบใหม่

4.ต้องมีการบำรุงรักษาเป็นประจำ เพื่อให้อุปกรณ์สูบสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานและคุ้มค่า โดยส่วนใหญ่จะนิยมถอดมาล้างทุกๆ 2-3 อาทิตย์ และเปลี่ยนตัวอะตอมทุก 1-2 เดือน

แม้ว่าจะมีความปลอดภัยมากกว่าการสูบบุหรี่ทั่วไปก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพและอาจทำให้เสพติดได้ ดังนั้นสำหรับเยาวชนรุ่นใหม่ก็ไม่ควรลองที่จะสูบ และผู้ที่ต้องการเปลี่ยนจากบุหรี่ทั่วไปมาใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ ก็ควรใช้อย่างถูกหลัก คือไม่นำสารประกอบอื่นๆ ที่เป็นอันตรายมาผสมลงไปนั่นเอง อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยและการมีสุขภาพที่ดีอย่างแท้จริง ควรเลิกสูบบุหรี่ทุกชนิดจะดีที่สุด

วิพากษ์วิจารณ์จำนวนไม่น้อยต่างให้ความเห็นแตกต่างกันออกไป บางคนกล่าวอ้างตาม พ.ร.บ. ว่า เนื่องจากยังถือเป็นสินค้าต้องห้าม (ห้ามนำเข้าประเทศ) จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรและความผิดตามกฎหมายอาญา แต่ในบางกรณีก็โต้กลับว่า จะผิดได้อย่างไร เราเป็นผู้บริโภค ไม่ได้นำเข้าหรือจัดจำหน่ายแต่อย่างใด หรือบางรายก็ให้เหตุผลว่า เนื่องจากรัฐฯไม่ได้เก็บภาษี จึงทำให้สูญเสียรายได้จากสินค้าดังกล่าว เงินไม่เข้าประเทศ คล้ายๆ กับเป็นสินค้าหนีภาษี อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของรัฐ…เรียกได้ว่า ถกเถียงกันเมามันส์ โต้วาทีกันทั้งวันก็ดูท่าจะไม่จบ

แหล่งที่มาข้อมูล :
https://www.pobpad.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น